Ad Code

การแจ้งความ กับ การลงบันทึกประจำวัน ต่างกันอย่างไร


คำว่า"แจ้งความ" นี่เป็นภาษาพูด  ทางกฎหมายจะใช้คำว่า "ยื่นคำร้องทุกข์" กับ "ยื่นคำกล่าวโทษ"

"คำร้องทุกข์" ผู้ยื่นต้องเป็นผู้เสียหาย โดยกล่าวหาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ไม่ว่าจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ


ส่วน "คำกล่าวโทษ" ผู้ยื่นจะเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้เสียหาย กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ว่ามีบุคคล ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดขึ้น

ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจ

การร้องทุกข์ คือ การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ

เพราะฉะนั้น การร้องทุกข์ต้องมีลักษณะดังนี้

๑. มีผู้กระทำผิดเกิดขึ้น

๒. จะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ได้

๓. ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย

๔. มีการกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่

๕. กล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ


สถานที่แจ้งความร้องทุกข์

ท่านจะต้องแจ้งความต่อตำรวจ ณ โรงพักที่ใกล้ที่สุด ให้ร้อยเวรบันทึกไว้ในสมุดประจำวันเป็นหลักฐาน

รายละเอียดที่แจ้งความ

ให้ท่านระบุวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุให้ถูกต้อง อย่าให้ผิดพลาดเป็นอันขาด เพราะหากแจ้งวันเวลาผิด เช่น กลางวันเป็นกลางคืน วันที่หนึ่งเป็นวันที่สอง หรือสถานที่เกิดเหตุผิดตำบล ผิดอำเภอไป เหล่านี้ถ้าอัยการฟ้องวันเวลาสถานที่เกิดเหตุผิดไปทำให้ศาล ยกฟ้องได้

ให้แจ้งพฤติการณ์ รายละเอียดที่เกิดขึ้นให้ละเอียด เล่าเรื่องเรียงให้ดี อย่าสับสน เช่น คนร้ายทั้งหมดกี่คน มีอาวุธ แต่งตัวอย่างไร เหตุใดจึงจำเป็นคนร้ายได้ อาศัยแสงสว่างอะไร เป็นต้น

พยานหลักฐานที่จะมอบให้ตำรวจ

นอกจากจะได้มอบพยานเอกสารต่าง ๆ ให้กับตำรวจแล้ว หากมีวัตถุพยานอื่น ๆ เกี่ยวกับการกระทำผิด ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายคนร้ายหรือฝ่ายของเรา เราจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี อย่าเคลื่อนย้าย เพื่อให้ตำรวจตรวจสอบเสียก่อน และหากมีพยานบุคคล ที่รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก็ระบุให้ตำรวจทราบอย่างละเอียด หรือถ้าสามารถนำบุคคลที่เป็นพยานมาสถานีตำรวจ ให้ตำรวจสอบไว้เป็นพยานก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งทั้งฝ่ายตำรวจและฝ่ายเรา

ข้อสังเกตก่อนลงชื่อแจ้งความ

หลังจากแจ้งความแล้ว ก่อนจะลงชื่อแจ้งความ เราต้องอ่านข้อความที่ตำรวจจดด้วยความระมัดระวัง ว่าตำรวจ จดถูกต้องตามที่เราแจ้งความไว้หรือไม่ ถ้าไม่ถูกอย่าลงชื่อเป็นอันขาด ต้องให้ตำรวจแก้ไขก่อน จึงจะลงชื่อ เพราะบางทีตำรวจ จดผิดไปคำเดียว เช่นคำว่า “จำคนร้ายได้” เป็น “จำคนร้ายไม่ได้” เป็นต้น

ผู้กล่าวโทษ

การกล่าวโทษ หมายถึง บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด

ผู้เสียหาย ไปกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานเรียกวา “การกล่าวโทษ”


ดังนั้นถ้ามิได้มีใครกระทำความผิดอาญา การยื่นคำร้องทุกข์ หรือ ยื่นคำกล่าวโทษ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่มีผลใดๆทางกฎหมายครับ เพราะไม่ครบองค์ประกอบ แจ้งไปตำรวจก็ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการอะไร พนง.สอบสวนอาจหยิบสมุดอะไรก็ไม่รู้มาเล่มหนึ่ง แล้วทำจดๆให้คุณสบายใจก็แค่นั้น

ก่อนไปแจ้งความต้องทำอะไรบ้าง

คำแนะนำในการไปติดต่อสถานีตำรวจ
    เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
เมื่อท่านไปติดต่อที่สถานีตำรวจ ท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ

    1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ
    2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
    4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
    5. สำเนาทะเบียนบ้าน
    6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ ดังนี้ติดตัวไปด้วย

6.1 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
6.2 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
6.3 ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้
 ให้ท่านนำหลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน, สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6.4 ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีและภรรยาแล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์
6.5 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ
(1) หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานทั้งติดอากรแสดมป์ 5 บาท
(2) หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์

แจ้งความบัตรประจำตัวประชาชนหาย

กรุงเทพมหานคร แจ้งที่สถานีตำรวจ
      ต่างจังหวัด สามารถแจ้งความได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือสถานีตำรวจก็ได้

อายุของบัตร

    กำหนดให้ใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตร ต้องไป ติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 90 วันนับแต่วันที่บัตรหมดอายุ เว้นแต่บัตรที่ยังไม่หมดอายุ ในวันที่ ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ บัตรนั้นสามารถใช้ได้ต่อไปตลอดชีวิต

ความผิด

    ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตร ขอตรวจมีโทษ ปรับไม่เกิน 100 บาท
     ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอม บัตรใหม่ ภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความหรือ แสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ว่าตนเป็น ผู้มีสัญชาติไทยหรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท


แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, จักรยานยนต์, โฉนดที่ดิน,ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหาย ต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย
2. เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
3. เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานยืนยันไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

แจ้งความคนหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
3. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
4. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด,ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)

แจ้งความรถและเรือหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือ พาหนะอื่นๆ ที่หาย
2. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
3. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัทไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือ ผู้จัดการของห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
4. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
5. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถ ให้จำยี่ห้อ สี แบบ หมายเลขประจำวันเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)

แจ้งความทรัพย์สินหาย
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น
2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
4. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี
5. ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือน หรือสำนักงานให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนเจ้า หน้าที่ตำรวจจะไปถึง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

Close Menu