Ad Code

การประกันตัวในชั้นศาล


การขอประกันตัวในชั้นศาลมี  2  ช่วง
ช่วงแรกเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว


ช่วงที่สอง  คือ  ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์  ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล  ดังนี้  หากผู้ประกันประสงค์จะขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณา  แล้วแต่กรณีต่อศาล
 กำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ประกันมีดังนี้

ชั้นสอบสวน  มีกำหนดเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังจนกระทั่งมีการฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี
ชั้นพิจารณาของศาล  สัญญาประกันใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวโดยศาล  ผู้ประกันสามารถยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกันได้ดังนี้

หลักประกัน เงื่อนไข/ลักษณะ
1.  การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน -         เงินสด
-         ที่ดินมีโฉนด  หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน  ซึ่งไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดี  หากจะนำสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมาเป็นประกันด้วยก็จะต้องแสดงสำเนาทะเบียนบ้านและหนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่น่า  เชื่อถือประกอบด้วย
-         ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด  และต้องไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดีได้
-         หลักทรัพย์มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคา มูลค่าที่แน่นอนได้  เช่น
-  พันธบัตรรัฐบาล
     -  สลากออมสิน
     -  สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคาร
        เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
     -  ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
     -  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก
     -  ตั๋วแลกเงิน  หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้
        สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่งสามารถเรียก
        เก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน
     -  หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระ
        เบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
2.  การใช้บุคคลเป็นประกัน

เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน  เช่น

-         ข้าราชการ  ข้าราชการบำนาญ
-         สมาชิกรัฐสภา
-         ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น
-         สมาชิกสภาท้องถิ่น
-         พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
-         พนักงานรัฐวิสาหกิจ
-         พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ลุกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
-         ผู้บริหารพรรคการเมือง
-         ทนายความ
และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย  ได้แก่
-         บุพการี  ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติ
     พี่น้อง
-         ผู้บังคับบัญชา  นายจ้าง
-         บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส  หรือ
-         บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้

อัตราหลักประกัน

-  ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่า
   ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
   หากวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินที่ผู้นั้น
   มีสิทธิประกันได้  ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอ
   ประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติมให้
   เพียงพอกับวงเงินประกันนั้นได้ หรืออาจให้
   มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญา
   ประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคนรวมกันได้

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว
-         บัตรประชาชน  บัตรข้าราชการ  หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน  ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา
-         หลักทรัพย์  เช่น  โฉนดที่ดิน  หนังสือรับรองการทำประโยชน์  (น.ส.3ก)  เงินสด  บัญชีเงินฝาก
-         หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง  (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)
-         หนังสือรับรองราคาประเมิน (กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)
-         หนังสือรับรองจากธนาคาร  (กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)
-         หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส  (กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)

หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอประกัน
เมื่อยื่นคำร้องขอประกันแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ประกอบในการ
พิจารณาสั่งคำร้อง  คือ
1.      ความหนักเบาแห่งข้อหา
2.      พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด
3.      พฤติการณ์ต่างๆ  แห่งคดีเป็นอย่างไร
4.      เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
5.      ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
6.      ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด
7.      คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.      ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
2.      เขียนคำร้องขอประกันตัวได้เอง โดยขอคำแนะนำหรือดูตัวอย่างได้จาก    
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หากผู้ขอประกันเขียนหนังสือไม่ได้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะช่วยเขียนให้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่ประการใด
3.      ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยลงชื่อในคำร้องขอประกันตัว หากผู้ต้องหาหรือจำเลย
     มิได้ถูกขังอยู่ที่ศาลเป็นหน้าที่ของนายประกันที่จะต้องนำคำร้องไปให้จำเลยหรือผู้ต้องหา ลงชื่อ
4.      นายประกันยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์
5.      เมื่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้ตรวจคำร้องและหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะลง
บัญชีรับเรื่องไว้เป็นหลักฐาน แล้วนำเสนอคำร้องต่อผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาสั่งคำร้อง      เมื่อผู้พิพากษาสั่งคำร้องแล้วจะส่งคำร้องขอประกันกลับคืนไปที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
6.      เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะแจ้งคำสั่งของศาลให้นายประกันทราบ
7.      หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน  นายประกันอาจต้องวางเงินประกัน
ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี โดยเจ้าหน้าที่จะออกใบรับหลักฐานการขอประกันและใบรับเงินให้
8.      เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันแล้ว  ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัว
อยู่ที่ศาลและยังไม่มีการออกหมายขังไว้เลย  จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากห้อง  ควบคุมในศาลได้เลย  ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างถูกขังตามหมายศาล เจ้าหน้าที่จะนำหมายปล่อยไปปล่อย ณ ที่ถูกคุมขัง
9.      ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกปล่อยตัวในวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
10.  หากศาลไม่อนุญาตให้ประกัน ผู้ขอประกันขอรับหลักทรัพย์ที่ยื่นไว้คืนได้
จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
11.  การขอประกันในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา  ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่
กล่าวมาแล้ว  แต่ศาลอาจใช้ดุลพินิจเพิ่มหลักประกันจากของศาลชั้นต้นได้

การขอรับหลักทรัพย์หรือเงินสดคืนจากศาล
              เมื่อคดีถึงที่สุด  หรือศาลอนุญาตให้ถอนประกัน  หรือสัญญาประกันสิ้นสุดลงด้วยเหตุอื่น  ความรับผิดตามสัญญาประกันสิ้นสุดลง  นายประกันสามารถขอหลักประกันคืนได้ทันทีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลและแนบหลักฐานคือใบรับหลักฐานและใบรับเงิน  ที่ศาลออกให้เมื่อครั้งยื่นขอปล่อยชั่วคราว หากใบรับหลักฐานหรือใบรับเงินสูญหาย ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและนำใบรับแจ้งความมาแสดงต่อศาล โดยปกติแล้วนายประกันต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง หากไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นมารับหลักทรัพย์หรือเงินสดแทนได้  โดยใบมอบฉันทะขอได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล

 การมอบฉันทะให้ส่งตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นายประกันได้ประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาไป
นายประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดของศาลทุกครั้ง  แต่
หากนายประกันไม่สามารถมาศาลได้  นายประกันอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นส่งตัวผู้ต้องหา
หรือจำเลยต่อศาลแทนได้โดยขอแบบฟอร์มใบมอบฉันทะได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ
ศาล

 การขอถอนประกัน
   นายประกันอาจขอถอนประกันได้เสมอโดยต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย      
ต่อศาล  เมื่อศาลได้อนุญาต  ความรับผิดชอบตามสัญญาประกันเป็นอันสิ้นสุดลง
                   ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับอย่างเดียว ถ้าจำเลยไม่สามารถชำระค่าปรับ
จะต้องถูกขังแทนค่าปรับในอัตราวันละ  200  บาท  กรณีนี้จำเลยอาจยื่นขอประกันเพื่อ
ไปหาเงินมาชำระค่าปรับได้

กรณีศาลสั่งปรับนายประกัน
                   ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกัน  นายประกันจะต้องนำเงิน
ค่าปรับมาชำระต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดมิฉะนั้นศาลจะสั่งยึดหลักประกัน
ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับต่อไป  และถ้าได้เงินไม่พอชำระค่าปรับศาล
อาจยึดทรัพย์สินอื่น ๆ  ของนายประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับจนครบ
นายประกันที่ศาลสั่งปรับตามสัญญาประกัน  มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ภายในกำหนด
1  เดือน  หรืออาจนำตัวจำเลยมาส่งศาลและขอลดค่าปรับต่อศาล
       
ข้อควรปฏิบัติสำหรับนายประกัน
1.      ให้ชื่อและที่อยู่อันแท้จริงต่อศาลหากมีการย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ศาลทราบ
โดยเร็ว
2.      เมื่อศาลอนุญาตให้ประกัน  นายประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกัน
ไว้เป็นหลักฐานและต้องลงชื่อทราบกำหนดวันเวลาส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมายังศาล
ด้วย
3.      ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดในชั้นผัดฟ้องฝากขัง
นายประกันต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลในวันครบกำหนดผัดฟ้องฝากขัง  
แต่ละครั้ง เมื่อศาลนัดให้จำเลยไปศาลในวันใด ไม่ว่าจะเป็นวันนัดสืบพยาน นัดฟัง
คำพิพากษา นัดสอบถาม หรือนัดเพื่อการอื่นใด  นายประกันต้องนำจำเลยไปส่งศาล
ทุกครั้ง  หากนายประกันผิดนัดไม่สามารถนำผู้ต้องหาหรือจำเลยไปศาลตามที่กล่าว
ข้างต้นศาลอาจถอนประกันและปรับนายประกันตามสัญญาทันที ฉะนั้นนายประกัน
จึงต้องคอยติดตามอยู่เสมอว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ที่ใดในระหว่างประกันตัว

ที่มา หอสมุดสำนักงานศาลยุติธรรม

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

Close Menu